ผอ.สพส. ประชุมการบริหารจัดการข้อมูลจากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (Narcotics Crops System : NCS) เพื่ออำนวยการ และติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ประจำปี 2560/61

เมื่อวันที่ : 13 มี.ค. 2018 21:07
หน่วยงาน : สถาบันสำรวจและควบคุมพืชเสพติด
13 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 นางทิพาพร ทัศนภักดิ์ ผอ.สพส. เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการข้อมูลจากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด(Narcotics Crops System : NCS) เพื่ออำนวยการ และติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ประจำปี 2560/61 ณ ห้องประชุมอินทนนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สพส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่นประจำปี 2560/61 และการบริหารจัดการข้อมูลจากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) ในการอำนวยการ และติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ร่วมกับ ผู้แทนจาก บก.ฉก.ศป.ปส.ทภ.3 ภายใต้โครงการกำจัดพืชเสพติด กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 3 นาย ได้แก่
พ.อ.วิศิษฐ์ บรรณากิจ ร.ท.กิตติพงษ์ อวนตะขบ และ ส.ต.ยุทธศักดิ์ สงฆ์รักษา โดยมี 3 ประเด็นในการประชุมเพื่อรับทราบและพิจารณา คือ ประเด็นที่ 1 แนวทางการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) ประเด็นที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) เพื่ออำนวยการ และติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ประจำปี 2560/61 และประเด็นที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคจากการบันทึกข้อมูลผ่านระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) สามารถสรุปผลการประชุมได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 แนวทางการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) คือ (1) การแบ่งปันและเชื่องโยงข้อมูลอย่างทันท่วงที เป็นระบบ และตรวจสอบได้ รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานให้มีความสอดคล้องกัน และทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น (2) การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ : เพื่อยกระดับทำงานจากการประสานงาน การร่วมงาน ไปสู่การร่วมมือกัน  ในการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของข้อมูล และสามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงการวางนโยบายที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (เช่น การนำข้อมูลความสูงของพืชฝิ่น มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการเข้าตัดทำลายอีกครั้ง เป็นต้น) (3) การสร้างนวัตกรรม : การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นตัวกำหนดในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเข้าตัดทำลายและบันทึกผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น (4) เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล : การสำรวจและการตัดทำลายไร่ฝิ่น เพื่อสร้างการยอมรับของประชาชน หน่วยงานภาคี และผู้บริหารระดับสูง

ประเด็นที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS) เพื่ออำนวยการ และติดตามผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ประจำปี 2560/61 : สพส. ได้นำข้อมูลผลการตัดทำลายไร่ฝิ่น ประจำปีงบประมาณ 2560/61 ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2561 จากระบบ NCS เบื้องต้นสามารถจำแนกข้อมูลได้
4 รูปแบบ คือ

1) ผลการบันทึก พบว่า ชุดปฏิบัติการตัดทำลายไร่ฝิ่น บันทึกเข้าในระบบ NCS จำนวน 378 แปลง 321.27 ไร่ (69 %) คงค้างการบันทึก 170 แปลง 143.36 ไร่ (31%) จากการสำรวจพบแปลงฝิ่นทั้งหมด จำนวน 548 แปลง 464.63 ไร่

2) ขนาดพื้นที่ (ต้องตรวจสอบและยืนยัน) พบว่า จากการบันทึกผลการตัดทำลายไร่ฝิ่นเข้ามาในระบบ NCS จำนวน 378 แปลง 321.27 ไร่ แบ่งออกเป็น สามารถยืนยันขนาดพื้นที่ จำนวน 330 แปลง 263.93 ไร่ ไม่ยืนยันขนาดพื้นที่ (รอการตรวจสอบ) จำนวน 48 แปลง 47.89 ไร่ ซึ่งระบุว่า แปลงมีขาดใหญ่กว่าการคำนวณของ สพส. จำนวน 26 แปลง และขนาดเล็กกว่า จำนวน 22 แปลง

3) คุณภาพของข้อมูล พบว่า จากการบันทึกผลการตัดทำลายไร่ฝิ่นเข้ามาในระบบ NCS จำนวน 378 แปลง พบว่า ไม่มีการบันทึกรูปภาพ จำนวน 61 แปลง และ มีการบันทึกรูปภาพ จำนวน 317 แปลง โดยการบันทึกรูปภาพจำแนกได้เป็น มีความน่าเชื่อถือจำนวน 197 แปลง ต้องได้รับการตรวจสอบ จำนวน 120 แปลง ใน 3 ประเด็นคือ (1) ต้องนำรูปภาพไปตรวจสอบเปรียบเทียบภาพแปลงฝิ่นของ สพส. เนื่องจากระบุว่า เป็นแปลงร้าง จำนวน 76 แปลง (2) ต้องตรวจสอบภาพซ้ำ จำนวน 14 แปลง และ (3) รูปภาพไม่สอดคล้องกับข้อมูลรายละเอียด จำนวน 30 แปลง

4) ข้อมูลการวิเคราะห์ ห้วงตัดทำลาย พบว่า จากการบันทึกผลการตัดทำลายไร่ฝิ่นเข้ามาในระบบ NCS จำนวน 378 แปลง สามารถจำแนกได้คือ (1) ความสูงของพืชฝิ่นยังไม่เหมาะสมต่อการตัดทำลาย (ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร) จำนวน 138 แปลง ซึ่งอาจส่งผลให้มีการแตกกิ่ง และเจริญเติบโตได้เหมือนเดิม
(2) ความสูงของพืชฝิ่นเหมาะสมต่อการตัดทำลาย (สูงกว่า 30 เซนติเมตรขึ้นไป) จำนวน 124 แปลง และ (3) ไม่พบพืชฝิ่น (ความสูง 0 เซนติเมตร) จำนวน 116 แปลง

ประเด็นที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคจากการบันทึกข้อมูลผ่านระบบติดตามสถานการณ์พืชเสพติด (NCS)

1) จากการวิเคราะห์คุณภาพของข้อมูล มีความเป็นไปได้ว่า หน่วยที่มีหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในระบบ NCS อาจมีความสับสนของรูปภาพ เนื่องจาก การส่งข้อมูลรูปภาพจะส่งผ่านช่องทาง Application Line ซึ่งทำให้มีการสลับของรูปภาพ ซึ่งแนวทางการแก้ไข สพส. จะดำเนินการพัฒนา Application เพื่อสนับสนุนการบันทึกผลการตัดทำลายผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตพกพา ของชุดปฏิบัติการ ในระบบที่มีสัญญานและไม่มีสัญญาน

2) การเข้าตัดทำลายพืชฝิ่น ในสถานะที่ไม่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการปรับวิธีการการกำหนดห้วงตัดทำลาย ของ สพส. ให้มีความแม่นยำมากกว่าเดิม และมีการสร้างความเข้าใจกับหัวหน้าชุดปฏิบัติการ และกองอำนวยการในระดับกองพัน/พล รวมถึงบก.ฉก.ศป.ปส.ทภ.3 ที่มีหน้าที่กำกับติดตาม ว่า หากชุดปฏิบัติการพบว่า แปลงฝิ่นที่เข้าตัดทำลายไม่เหมาะสมต่อการตัดทำลาย ให้ดำเนินการส่งข้อมูลเข้ามายังระบบ NCS เพื่อที่ระบบจะได้ดำเนินการประมวล ใช้วางแผน และเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงอนุมัติในการเข้าตัดทำลายในห้วงที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งถือว่า เป็นการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจในการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการตัดทำลายไร่ฝิ่นได้ทันต่อสถานการณ์

67585.jpg 67587.jpg 67594.jpg

YouTube Line search download
Q&A FAQ